ทฤษฎีแรงจูงใจของ อับราฮัม มาสโลว์ (Maslow’s General Theory of Human & Motivation) เป็นทฤษฎีจิตวิทยาเกี่ยวกับแรงจูงใจที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก โดยหลักการดังกล่าวได้อธิบายถึงความต้องการของมนุษย์ เรียงลำดับตั้งแต่ลำดับขั้นต่ำไปหาสูง (Hierarchy & Needs) โดยแนวคิดของมาสโลว์ที่ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
1. ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด แต่สิ่งที่มนุษย์ต้องการนั้นขึ้นอยู่กับว่า เขาสิ่งที่เขามีอยู่แล้วเป็นอะไร เมื่อความต้องการใดของมนุษย์ได้รับการตอบสนองแล้วจะมีความต้องการอื่นจะเข้ามาแทนที่ กระบวนการจะเป็นแบบนี้ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และจะเริ่มตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
2. ปริมาณความต้องการ
ความต้องการของมนุษย์ที่ได้รับการตอบสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมอีกต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้นที่เป็นแรงจูงใจของพฤติกรรม
3. ลำดับขั้นความต้องการ
ความต้องการของมนุษย์จะถูกเรียงตามลำดับขั้นความสำคัญ นั่นก็คือ เมื่อความต้องการระดับต่ำ ได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะมีการเรียกร้องให้มีการตอบสนองทันที
4. มาสโลว์ได้แบ่ง

1. ต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs)
เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อความอยู่รอดของชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่า Basic needs ได้แก่ ความต้องการปัจจัยสี่ และความต้องการทางเพศ ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่มีพลังมากที่สุด เพราะเป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
ยกตัวอย่าง กรณีที่เราพบกันได้บ่อย เช่น แม่ขโมยอาหารให้ลูกเพราะไม่มีเงินซื้อ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเกิดจากแรงผลักดันในความต้องการขั้นแรก นอกจากนี้ถ้าความต้องการในขั้นแรกนั้นยังไม่ได้รับการตอบสนอง ก็ยากที่จะพัฒนาไปสู่ความต้องการลำดับขั้นอื่นๆ ได้ เพราะบุคคลเหล่านี้จะใช้สติและสมาธิไปกับการหาสิ่งพื้นฐานในการเอาชีวิตรอด
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)
เป็นความต้องการที่เหนือกว่าความต้องการทางด้านร่างกาย เช่น ความปลอดภัยในชีวิต ต้องการความมั่นคงในการทำงาน ความต้องการได้รับการปกป้องคุ้มครอง เป็นต้น ถ้าหากบุคคลนั้นไม่ได้รับการตอบสนองในขั้นนี้จะรู้สึกหวาดระแวง หวาดกลัว และเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตของตนเอง
3. ความต้องการด้านสังคม (Social needs)
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมประเภทหนึ่งที่มีความต้องการที่จะได้รับความรักและการยอมรับ (Love and belongingness needs) เป็นแรงกระตุ้นของการให้และการได้รับซึ่งความรัก การเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ และได้การยอมรับ เป็นต้น โดยเราจะเห็นได้ว่ายิ่งคนที่ผ่านความต้องการในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ได้แล้ว ก็จะมองหาหนทางเข้าสังคมมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่ประกอบธุรกิจ หรือกลุ่มไฮโซ จะเข้าสังคมเพื่อหาเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีเงินในการได้รับปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอแล้ว และมีความมั่นคงเพียงพอ รวมไปถึงมีที่พักอาศัยอยู่ในเขตที่ปลอดภัย ทำให้ไม่จำเป็นต้องมานั่งคิดถึงการหาปัจจัยพื้นฐาน และความปลอดภัยอีกต่อไป ดังนั้น บุคคลเหล่านี้จึงปรารถนาเครือข่าย และความสัมพันธ์ (Connection) ที่มีประโยชน์กับตนเอง
4. ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs)
เมื่อได้เข้ากลุ่มทางสังคมแล้ว มนุษย์ย่มต้องการได้รับการยกย่องส่วนตัว (Self-esteem) ความนับถือ (Recognition) และสถานะ (Status) จากสังคมต่อไปอีก ตลอดจนเป็นความพยายามที่จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นมากยิ่งขึ้น ทั้งอยากให้ผู้คนเคารพนับถือในความสำเร็จ ความรู้ ศักดิ์ศรี และความสามารถของตน บุคคลที่มาถึงขึ้นตอนนี้เป็นผู้ที่มีสถานะที่ดี และมีชื่อเสียงในสังคม ลำดับความต้องการขั้นที่ 4 นี้ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
4.1 ความต้องการนับถือในตนเอง (Self-Esteem) เนื่องด้วยทุกคนต้องการที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง และสามารถประสบความสำเร็จได้
4.2 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (Esteem from others) โดยปกติคนเราต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง และการยอมรับจากผู้อื่น เพื่อให้ตนเองรู้สึกว่าได้รับความเชื่อมั่นจากบุคคลอื่น
5. ความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-actualization needs)
เป็นจุดสูงสุดของความต้องการที่ได้ถูกอธิบายโดยมาสโลว์ ซึ่งถ้าใครได้บรรลุความต้องการในขั้นนี้ได้ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลพิเศษ หรือบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น นักร้องหรือนักแสดงที่มีชื่อเสียง ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน เป็นต้น อันเป็นการบรรลุจุดสูงสุดของศักยภาพของบุคคลนั้น

ก่อนที่คุณจะประสบความสำเร็จในสายอาชีพใดก็ตาม คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจหลักทฤษฎีแรงจูงใจของ อับราฮัม มาสโลว์ เพื่อให้เข้าใจทั้งตัวคุณและรูปแบบของสังคม เมื่อคุณได้เข้าใจในความต้องการของมนุษย์ และนิสัยพื้นฐานของมนุษย์แล้ว คุณจะลดความผิดพลาดในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตได้อย่างคาดไม่ถึง อีกทั้ังยังเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ทฤษฎีทางจิตวิทยาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี